รายการที่ 1 - 10 จาก 38 รายการ รวม 4 หน้า ขณะนี้อยู่ที่หน้า 1
หน้า 1 2 3 4
ท่านอยู่หน้าแรก หน้าสุดท้าย

  ชื่อหนังสือ : โครงสร้างใหม่ของกระทรวงศึกษาธิการ
  
                เอกสารฉบับนี้ เป็นการนำเสนอสาระ การสนทนารายการเช้าวันนี้ ออกอากาศเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2545 ทาง ช่อง 5 ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจและน่าติดตามกับผู้สนใจทุกท่าน
 


  ชื่อหนังสือ : โครงสร้างการบริหารการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น
  
                การปฏิรูปโครงสร้าง การบริหารการศึกษา นับเป็น องค์ประกอบสำคัญ ต่อความสำเร็จ ของการปฏิรูปการศึกษา เนื่องจาก การกำหนดโครงสร้าง ทางการบริหาร การแบ่งโครงสร้างองค์กร ในกระทรวงส่วนกลาง บทบาทและ อำนาจหน้าที่ ของกระทรวง ขอบเขต ขนาด หรือจำนวนเขต หรือจังหวัด หรือองค์กรปกครอง รวมทั้งรูปแบบ การบริหารของสถานศึกษา จะทำให้มองเห็นระดับ ของการกระจายอำนาจทางการศึกษา องค์ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารการศึกษาของต่างประเทศ เป็นกรณีศึกษา ที่ทำให้เห็นผลดี ผลเสีย รวมทั้งบทเรียน ในการดำเนินงานแต่ละรูปแบบ ของประเทศญี่ปุ่น
 


  ชื่อหนังสือ : โครงสร้างการบริหารการศึกษาของประเทศมาเลเซีย
  
                การปฏิรูปโครงสร้าง การบริหารการศึกษา นับเป็น องค์ประกอบสำคัญ ต่อความสำเร็จ ของการปฏิรูปการศึกษา เนื่องจาก การกำหนดโครงสร้าง ทางการบริหาร การแบ่งโครงสร้างองค์กร ในกระทรวงส่วนกลาง บทบาทและ อำนาจหน้าที่ ของกระทรวง ขอบเขต ขนาด หรือจำนวนเขต หรือจังหวัด หรือองค์กรปกครอง รวมทั้งรูปแบบ การบริหารของสถานศึกษา จะทำให้มองเห็นระดับ ของการกระจายอำนาจทางการศึกษา องค์ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารการศึกษาของต่างประเทศ เป็นกรณีศึกษา ที่ทำให้เห็นผลดี ผลเสีย รวมทั้งบทเรียน ในการดำเนินงานแต่ละรูปแบบ ของประเทศมาเลเซีย
 


  ชื่อหนังสือ : โครงสร้างการบริหารการศึกษาของประเทศอังกฤษ
  
                การปฏิรูปโครงสร้าง การบริหารการศึกษา นับเป็น องค์ประกอบสำคัญ ต่อความสำเร็จ ของการปฏิรูปการศึกษา เนื่องจาก การกำหนดโครงสร้าง ทางการบริหาร การแบ่งโครงสร้างองค์กร ในกระทรวงส่วนกลาง บทบาทและ อำนาจหน้าที่ ของกระทรวง ขอบเขต ขนาด หรือจำนวนเขต หรือจังหวัด หรือองค์กรปกครอง รวมทั้งรูปแบบ การบริหารของสถานศึกษา จะทำให้มองเห็นระดับ ของการกระจายอำนาจทางการศึกษา องค์ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารการศึกษาของต่างประเทศ เป็นกรณีศึกษา ที่ทำให้เห็นผลดี ผลเสีย รวมทั้งบทเรียน ในการดำเนินงานแต่ละรูปแบบ ของประเทศอังกฤษ
 


  ชื่อหนังสือ : การนำนโยบายปฏิรูปการศึกษาไปสู่การปฏิบัติในนิวซีแลนด์ ค.ศ 1987-1997(กรณีศึกษา)
  
                กรณีศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงทัศนะต่อเรื่องการปฏิรูปการศึกษาในนิวซีแลนด์ ของผู้ที่อยู่วงใน เอกสารฉบับนี้กล่าวถึงช่วงเวลาระหว่าง ค.ศ. 1987 -1997 ซึ่งเป็นช่วงที่นิวซีแลนด์ดำเนินการ ปรับโครงสร้างระบบการศึกษาครั้งใหญ่ โดยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะกระจายอำนาจ การตัดสินใจที่รวมศูนย์อยู่ในส่วนกลางออกไปสู่ระดับโรงเรียนในท้องถิ่น ประเด็นสำคัญ ของรายงานฉบับนี้อยู่ที่การเมืองและยุทธศาสตร์ของตัวกระบวนการเปลี่ยนแปลง มิใช่ที่ ผลกระทบต่อผลการศึกษาซึ่งเป็นเรื่องที่ตามมาหลังการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง กรณีศึกษา นี้จบลงด้วยการกล่าวถึงประเด็นที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขและบทเรียนที่ได้รับ
 


  ชื่อหนังสือ : การปฏิรูปการศึกษาของสหราชอาณาจักร ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของสหราชอาณาจักร
  
                สรุปยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงานของโรงเรียน และยกมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนทั่วประเทศ ประเด็นสำคัญที่ดำเนินการปฏิรูป คือ การยกระดับมาตรฐานการศึกษา การช่วยให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการเรียน การบริหารจัดการในโรงเรียน การสอน การจัดทำหลักสูตรและการประเมินผล รวมทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศและการศึกษา
 


  ชื่อหนังสือ : การศึกษาแนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาในรูปแบบการบริหาร โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Management)
  
                การวิจัยเรื่อง การศึกษาแนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาในรูปแบบ การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Management) มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิจัยเอกสารแนวทางการบริหารจัดการสถานศึกษา โดย ใช้โรงเรียนเป็นฐานทั้งต่างประเทศ และในประเทศไทย ศึกษา/วิเคราะห์ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไป ยังสถานศึกษา วิเคราะห์และเสนอแนวทางการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย
 


  ชื่อหนังสือ : ตรวจสอบปฏิรูปโครงสร้าง ศธ.
  
                เอกสารเล่มนี้เป็นการถอดความการสนทนาในรายการระดมสมองอนาคตการศึกษาไทย ซึ่งออกอากาศไปแล้วเมื่อวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2545 ทางสถานีโทรทัศน์ เนชั่นทีวี ยูบีซี 8 โดยมี ศ.ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต กรรมการการศึกษาแห่งชาติ และนายชุมพล ศิลปอาชา สมาชิกวุฒิสภา เป็นวิทยากรร่วมกัน
 


  ชื่อหนังสือ : ผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ 2545
  
                ผู้บริหารสถานศึกษา เป็นบุคลากรทางการศึกษาที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้การปฏิรูปการเรียนรู้ ซึ่งเป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ประสบความสำเร็จ เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินการคัดเลือก และเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้บริหารสถานศึกษา ครู อาจารย์ และบุคคลที่สนใจ
 


  ชื่อหนังสือ : รายงานการวิจัย เรื่อง กวดวิชาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทย
  
                การกวดวิชาได้เข้ามามีบทบาทอย่างกว้างขวางในระบบการศึกษาไทย โดยอาจกล่าวได้ว่า ผู้เรียนแทบทุกคนและทุกระดับจะต้องเรียนกวดวิชา โดยให้เหตุผลว่า การกวดวิชาจะทำให้สามารถ สอบเข้าไปเรียนในสถาบันที่มีชื่อเสียงและมีคุณภาพได้ สิ่งที่ตามมาคือค่าใช้จ่ายเพื่อการกวดวิชาซึ่ง ย่อมเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง รายงานการวิจัยฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ทราบถึงปัญหา สาเหตุและผลกระทบที่แท้จริง ของการกวดวิชาต่อระบบการศึกษา เพื่อร่วมกันพิจารณาหาวิธีแก้ไข โดย รศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์
 


รายการที่ 1 - 10 จาก 38 รายการ รวม 4 หน้า ขณะนี้อยู่ที่หน้า 1
หน้า 1 2 3 4
ท่านอยู่หน้าแรก หน้าสุดท้าย
MENU || TOP