รายการที่ 1 - 10 จาก 15 รายการ รวม 2 หน้า ขณะนี้อยู่ที่หน้า 1
หน้า 1 2
ท่านอยู่หน้าแรก หน้าสุดท้าย

  ชื่อหนังสือ : The Reggio Approach in The Early Childhood Classroom
  
                เป็นเอกสารที่นำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับการจัดชั้นเรียนของเด็กปฐมวัยแบบเร็กจิโอ ซึ่งเป็นเอกสารการประชุมนานาชาติ จัดโดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ และสกศ. ซึ่งจัดที่กรุงเทพฯ วันที่ 13-16 ธันวาคม 2542
 


  ชื่อหนังสือ : การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
  
                การจัดการศึกษาปฐมวัยเป็นรากฐานสำคัญที่สุด ในการเรียนรู้ การคิดค้นนวัตกรรมการเรียนรู้ในระดับปฐมวัย จึงเป็นเรื่องที่ท้าทาย นอกจากนี้ยังมีหลากหลายแนวคิด ความเชื่อและทฤษฎี เอกสารเล่มนี้เป็นการรวบรวมองค์ความรู้ในการจัดการศึกษาปฐมวัย ของนักการศึกษาหลายแนวคิด จากต่างประเทศ และนักการศึกษาไทย ที่ได้มีการคิดค้นนวัตกรรมการเรียนรู้ และการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
 


  ชื่อหนังสือ : การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย : ตามแนวการเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวม
  
                การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย:ตามแนวการเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวม เป็นการถอดแนวคิดสู่การปฏิบัติในสังคมไทย ที่มุ่งเน้นการจัดสิ่งแวดล้อมด้านภาษาที่ดี ทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และ การเขียน การให้เด็กได้ เรียนรู้ผ่านการลงมือกระทำด้วยตนเอง จนเกิดองค์ความรู้ และผลงานขึ้นเอง เอกสารนี้มุ่งจะอธิบายให้ครู พ่อแม่ และผู้ปกครอง ได้ทราบว่าการจัดการเรียนรู้ ตามแนวการเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวม เด็กจะได้รับการพัฒนาอย่างไร ในแต่ละวันครูจะจัด กิจกรรมการเรียนการสอนอย่างไร พ่อแม่จะสนับสนุนให้เด็ก เกิดการเรียนรู้ได้อย่างไร
 


  ชื่อหนังสือ : การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย : ตามแนวคิดมอนเตสซอรี่
  
                การเรียนรู้ของ เด็กปฐมวัยไทย:ตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ เป็นการถอดแนวคิดสู่การปฏิบัติในสังคมไทย ที่มุ่งเน้นให้เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการของตนเอง จากสิ่งแวดล้อม ที่ได้เตรียมไว ้และให้เด็กประสบความสำเร็จตามความต้องการ การให้เด็กได้ลงมือกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ภายในของเด็กแต่ละคน เอกสารนี้มุ่งจะอธิบายให้ครู พ่อแม่ และ ผู้ปกครอง ได้ทราบว่าการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดมอนเตสซอรี่ เด็กจะได้รับการพัฒนาอย่างไร ในแต่ละ วันครูจะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างไร พ่อแม่จะสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างไร
 


  ชื่อหนังสือ : การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย : ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมีเลีย
  
                การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย:ตามแนวคิดเรกจิโอเอมีเลีย เป็นการถอดแนวคิดสู่การปฏิบัติใน สังคมไทย ที่มุ่งเน้นให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านโครงการ ตามความสนใจของเด็ก การให้เด็กได้ลงมือกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ภายในของเด็กแต่ละคน เอกสารนี้มุ่งจะอธิบาย ให้คร ูพ่อแม่ และผู้ปกครอง ได้ทราบว่าการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด เรกจิโอเอมีเลีย เด็กจะได้รับการพัฒนาอย่างไร ในแต่ละวันครูจะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างไร พ่อแม่ จะสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างไร
 


  ชื่อหนังสือ : การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย : ตามแนวคิดไฮสโคป
  
                การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย:ตามแนวคิดไฮสโคป เป็นการถอดแนวคิดสู่การปฏิบัติในสังคมไทย ที่มุ่งเน้นการเรียนรู้แบบลงกระทำ คือได้จัดกระทำกับวัตถุมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล ความคิด และเหตุการณ์ จนสามารถสร้างองค์ความรู้ ด้วยตนเอง เอกสารนี้มุ่งจะอธิบายให้ครู พ่อแม่ และผู้ปกครอง ได้ทราบว่าการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป เด็กจะได้ รับการพัฒนาอย่างไรในแต่ละวัน ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างไร พ่อแม่จะสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ อย่างไร
 


  ชื่อหนังสือ : การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย ตามแนวคิดวอลดอร์ฟ
  
                การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย:ตามแนวคิดวอลดอร์ฟ เป็นการถอดแนวคิดสู่การปฏิบัติ ในสังคมไทย ที่มุ่งเน้นการจัดประสบการณ์สิ่งแวดล้อมที่ดี การให้เด็กได้ลงมือกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ภายในเด็กแต่ละคน เอกสารนี้มุ่งจะอธิบายให้ครู พ่อแม่ และผู้ปกครอง ได้ทราบว่าการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวอลดอร์ฟ เด็กจะ ได้รับการพัฒนาอย่างไร พ่อแม่จะสนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างไร
 


  ชื่อหนังสือ : การศึกษาปฐมวัย สร้างคน สร้างชาติ
  
                เป็นเอกสารสรุปผลการประชุมและการประชุมปฏิบัติการเรื่อง "การศึกษาปฐมวัย สร้างคน สร้างชาติ" ที่จัดขึ้นโดยสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ร่วมกับมูลนิธิชมรมไทย-อิสราเอล มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาเกษตรศาสตร์ ในวันที่ 12-22 กรกฎาคม 2542 พร้อมทั้งนำเสนอความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจากอิสราเอล 2 ท่านคือ Mrs.Janette Hirschmann และ Ms.Rachel Kedar
 


  ชื่อหนังสือ : ตัวบ่งชี้ สภาพที่พึงประสงค์ และเกณฑ์การประเมิน ระดับก่อนประถม ตามมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  
                เอกสารฉบับนี้ ประกอบด้วยมาตรฐานด้านผู้เรียน มาตรฐานด้านปัจจัย และมาตรฐานด้านกระบวนการ รวม 14 มาตรฐาน 47 ตัวบ่งชี้ และได้จัดทำเกณฑ์การประเมินมาตรฐานแต่ละมาตรฐาน ด้วยการกำหนดสภาพที่พึงประสงค์ในแต่ละตัวบ่งชี้ และการพิจารณาการบรรลุผลตามเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งในเชิงปริมาณ และคุณภาพ
 


  ชื่อหนังสือ : เทคนิคพัฒนาสมองให้เต็มประสิทธิภาพ
  
                เป็นเอกสารสรุปสาระการสัมมนา "เทคนิคพัฒนาสมองให้เต็มประสิทธิภาพ" เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2542 ณ ห้องกรุงธนบอลรูม โรงแรมรอยัลริเวอร์ ซึ่งในการสัมมนา ได้นำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ ตลอดจนได้รวบรวมความคิดเห็นของผู้เข้าสัมมนา
 


รายการที่ 1 - 10 จาก 15 รายการ รวม 2 หน้า ขณะนี้อยู่ที่หน้า 1
หน้า 1 2
ท่านอยู่หน้าแรก หน้าสุดท้าย
MENU || TOP