กฎข้อที่สองของเคปเลอร์

ดาวเคราะห์จะอยู่ที่ไหนในวงโคจรขณะเวลาที่กำหนดe? ในปี 1609 โยฮัน เคปเลอร์ Johannes Kepler ตอบคำถามนี้ได้ด้วยกฎง่ายๆต่อไปนี้ :

กฎข้อที่สองของเคปเลอร์สำหรับการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ที่ไม่ถูกรบกวน:
เส้นตรงที่เชื่อมต่อตำแหน่งดาวเคราะห์กับดวงอาทิตย์จะกวาดพื้นที่เท่าๆกันในช่วงเวลาเท่าๆกัน

กฎข้อนี้แสดงได้ด้วยโปรแกรม ทางด้านขวาบนเป็นรายชื่อดาวเคราะห์ 9 ดวงและดาวหางฮัลเลย์ที่สามารถเลือกแสดงได้ นอกจากนี้ยังสามารถหาวงโคจรของวัตถุท้องฟ้าที่จินตนาการขึ้นมาโดยใส่ระยะครึ่งแกนยาวและค่าความรี(eccentrity)ระหว่าง 0 - 1 เสร็จแล้วอย่าลืมกดแป้น "Enter" การหยุดการแสดงการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์และเริ่มต้นใหม่ทำได้โดยใช้ปุ่ม "Pause / Resume"หรือทำให้เคลื่อนที่ช้าลง ถ้าเลือกเงื่อนไข "Sectors", โปรแกรมจะแสดงพื้นที่สองส่วนที่เท่ากันและนาฬิกาจับเวลาสองเรือนที่ใช้บอกเวลาเมื่อผ่านส่วนทั้งสองเป็นจำนวนเท่าของคาบการโคจร การเพิ่มหรือลดพื้นที่ทำได้โดยใช้ปุ่มเลื่อน หรือบิดด้วยการกดปุ่มเมาส์ เวกเตอร์ความเร็วจะเลือกให้แสดงหรือไม่ก็ได้ ทางด้านขวาล่างของกรอบควบคุมยังแสดงข้อมูลเกี่ยวกับระยะห่างจากดวงอาทิตย์ด้วยโดยใช้หน่วยดาราศาสตร์ 1 AU = 1.49597870 x 1011 m) ส่วนความเร็วมีหน่วยเป็นกิโลเมตรต่อวินาที ( km/s)


Physics
Physics Applets
(Overview)
(ภาษาไทย)

URL: http://www.walter-fendt.de/ph11e/keplerlaw2.htm
© Walter Fendt, April 4, 2000
Last modification: December 27, 2002
ผู้แปลและเรียบเรียง : นิรมล ปีตะนีละผลิน