กฎข้อที่หนึ่งของเคปเลอร์

วงโคจรของดาวเคราะห์เป็นรูปอะไร? นักดาราศาสตร์ตั้งแต่สมัยปโตเลมีจนถึงโคเปอร์นิคัสมีคำตอบที่ชัดเจน(แต่ผิด) ว่าดาวเคราะห์เคลื่อนที่เป็นวงกลมหรืออย่างน้อยก็เป็นวงโคจรที่เป็นผลรวมของการเคลื่อนที่เป็นวงกลม ผู้ที่ยุติความเข้าใจผิดนี้คือโยฮัน เคปเลอร์ Johannes Kepler ในปี 1609 หลังจากได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสังเกตของไทโค บราห์(Tycho Brahe) อย่างละเอียดถี่ถ้วน เขาพบว่าดาวเคราะห์โคจรเป็นรูปวงรี ellipses คุณลักษณะเฉพาะของรูปวงรีคือ จุดใดๆบนวงรีจะมีผลบวกของระยะห่างจากจุดโฟกัสทั้งสองเป็นค่าคงที่

กฎข้อแรกของเคปเลอร์สำหรับการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ที่ไม่ถูกรบกวน :
วงโคจรของดาวเคราะห์เป็นวงรีและดวงอาทิตย์อยู่ที่จุดโฟกัสจุดหนึ่ง

โปรแกรมแสดงกฎดังกล่าว ตำแหน่งของดาวเคราะห์(สีน้ำเงิน)ในวงโคจรรอบดวงอาทิตย์(สีแดง) สามารถปรับได้โดยการกดปุ่มเมาส์ ด้านบนขวาในกรอบควบคุมสีเขียวจะสามารถเลือกดาวเคราะห์ดวงใดดวงหนึ่งจาก 9 ดวง หรือดาวหางฮัลเลย์ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบวงโคจรของวัตถุท้องฟ้าที่จินตนาการขึ้นมาโดยใส่ระยะครึ่งแกนยาวและค่าความรี(eccentrity)ระหว่าง 0 - 1 โปรแกรมจะคำนวณความยาวของระยะครึ่งแกนสั้น และระยะทางที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ รวมทั้งระยะใกล้สุดและไกลสุดในหน่วยดาราศาสตร์ astronomical units (AU). 1 AU = 1.49597870 x 1011 m ซึ่งมีนิยามจากระยะห่างเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ทางด้านขวาล่างจะมีตัวเลือกสำหรับแสดงเส้นทางในวงโคจร เส้นแกนของวงรี และเส้นเชื่อมระหว่างวัตถุท้องฟ้ากับจุดโฟกัสทั้งสอง (F และ F')


Physics
Physics Applets
(Overview)
(ภาษาไทย)

URL: http://www.walter-fendt.de/ph11e/keplerlaw1.htm
© Walter Fendt, March 25, 2000
Last modification: December 27, 2000
ผู้แปลและเรียบเรียง : นิรมล ปีตะนีละผลิน